หน่วยที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน
1. หลักการนำเสนอผลงาน
ในหน่วยการเรียนรู้ก่อนๆ
ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานรูปแบบต่างๆมาบ้างแล้ว
การสร้างผลงานที่ดีนั้นต้องอาศัยความรู้และทักษะตลอดจนความคิดสร้างสรรค์
แต่ที่สำคัญที่สุดคือการสะสมประสบการณ์จากการที่ได้พบเห็นตัวอย่างและการเรียนรู้จากตัวอย่าง
ในหน่วยการเรียนรู้นี้
จะกล่าวถึงการนำเสนอผลงานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่หาได้ทั่วไป
การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์คือ
1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
2. ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจำนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
การนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนศึกษานั้น มีเหตุผลเบื้องลึก คือ หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่า การรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่าง คือ ทั้งตาและหูพร้อมกันนั้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่า รวมทั้งเกิดความสามารถ
ในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตาหรือหู อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อ โสตทัศนศึกษารูปแบบต่าง
ๆ ขึ้นมาใช้งาน
หลักการขั้นพื้นฐานของการนพเสนอผลงานมีจุดสำคัญคือ
1.1 การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง
และมีความสบายตาสบายใจเมื่อมอง ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่างๆ เช่น สีพื้น แบบ สี
และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ฯลฯ ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้
1.2
ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน
ส่วนที่เป็นภพประกอบต้องมีส่วนสัมผัสอย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบมีประโยชน์มากดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า “A
picture is worth a words” หรือ
“ ภาพภาพหนึ่งที่มีค่าเทียบเท่าคำพูดหนึ่งพันคำ” แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นความจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่จะเลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
1.3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย
เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กการใช้สีสดๆและภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม
แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ
การใช้สีสันมากเกินไปและใช้รูปการ์ตูน
อาจจะทำให้กูไม่น่าเชื่อถือเพราะขนาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป
2. เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน
ก่อนยุคคอมพิวเตอร์
การนำเสนอผลงานในที่ประชุมสัมนามักจะใช้เครื่องมือสองอย่างคือ เครื่องฉายสไลด์ (Slide
projector) และเครื่องฉายแผ่นใส (Overheard projector) การใช้งานเครื่องฉายสไลด์ค่อนข้างยุ่งยาก
เพราะต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษที่ล้างออกมาแล้วเป็นภาพสำหรัยฉายโดยเฉพาะ
และต้องนำฟิล์มนั้นมาตัดใส่กรอบพิเศษจะนำมาเข้าเครื่องฉายแผ่นใสเป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่าแผ่นใสที่ใช้ตามปกติมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว
มีสองแบบคือแบบใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน กับแบบที่ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร
แผ่นใสแบบใช้เครื่องถ่ายเอกสารใช้เขียนได้แต่แบบเขียนใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารไม่ได้เพราะแผ่นใสจะละลายติดเครื่องถ่ายเอกสารทำให้เครื่องเสียเวลาซื้อแผ่นใสจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูให้ดีว่าเป็นชนิดที่ตรงกับความต้องการหรือไม่
การฉายแผ่นใสสามารถทำได้ในห้องที่ไม่ต้องมืดมาก
เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้นำเสนอผลงานก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลัก คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์
(Data projector) เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์รุ่น
แรก ๆ มีขนาดใหญ่ต้องติดตั้งประจำที่ ข้างในมีหลอดภาพ 3 หลอด ทำให้เกิดภาพแต่ละสีฉายผ่านเลนส์ออกมาปรากฏภาพบนหน้าจอ
ความคมชัดยังไม่ดีนัก และความสว่างของภาพก็ไม่มากพอ ทำให้ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด เครื่องฉายรุ่นใหม่ ได้แก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ได้หมดแล้ว โดยใช้แผ่นผลึกเหลว
(Liquid Crystal Display หรือ
LCD) เป็นตัวสร้างภาพ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงมาจนสามารถพกพาได้ อีกทั้งความสว่างและความคมชัดก็ดีขึ้นมากจนสามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างปานกลางได้
ในหน่วยการเรียนรู้นี้ จะกล่าวถึงการนำเสนอผลงานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่หาได้ทั่วไป การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์คือ
1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
2. ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจำนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
การนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนศึกษานั้น มีเหตุผลเบื้องลึก คือ หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่า การรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่าง คือ ทั้งตาและหูพร้อมกันนั้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่า รวมทั้งเกิดความสามารถ ในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตาหรือหู อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อ โสตทัศนศึกษารูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน
หลักการขั้นพื้นฐานของการนพเสนอผลงานมีจุดสำคัญคือ
1.2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภพประกอบต้องมีส่วนสัมผัสอย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบมีประโยชน์มากดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า “A picture is worth a words” หรือ “ ภาพภาพหนึ่งที่มีค่าเทียบเท่าคำพูดหนึ่งพันคำ” แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นความจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่จะเลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
1.3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กการใช้สีสดๆและภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและใช้รูปการ์ตูน อาจจะทำให้กูไม่น่าเชื่อถือเพราะขนาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป
เป็นโปรแกรมนำเสนอผลงานในชุด Microsoft Office เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมากีแม่แบบ (Template) ให้เลือกใช้หลายแบบ อคืประกอบหลักของแต่ละหน้าของการนำเสนอคือ หัวข้อ (Little) กับส่วนเนื้อหาหลัก (Body text)เนื้อหาหลักมักจะถูกนำเสนอในแบบของ Bull Point คือการใช้เครื่องหมายพิเศษนำหน้าข้อความที่สั้นกระทัดรัด แต่ได้ใจความมีการจัดลำดับความสำคัญของข้อความโดยการย่อหน้า
ฮาร์ดแวร์ของสไลด์ที่ 1ภาพที่จะนำเสนอจะกระโดดไปที่สไลด์ที่ 11
1.1 การเตรียมข้อมูลของภาพและเพลงต่างๆ
3.1.3 โปรแกรม Flip Album
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม Desk Top Author
3. โปรแกรม Flip Flash Album
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ Filp Viewer
1.2 โปรแกรมชุด Desk Top Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแรกมชุด Flip Flash Album ตัวอ่านคือ Flash Player
ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book
HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด งานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น
.htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น มาจาก บราวเซอร์สำหรับเข้าชมเว็บต่าง ๆ เช่น
Internet Explorer หรือ Netscape
Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์
HTML ได้ สำหรับไฟล์ XML ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์ HTML นั่นเอง
PDF Portable หรือ
Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe
System Inc เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํานวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ของ
Adobe ด้วย
PML พัฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้สําหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ
ที่สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล
.PDF ด้วย
(หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.j-joy.co.th)
วิธีการที่ใช้กับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ด้วยโปรแกรมในตระกูล Flip Album
1. เตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทำความรู้จักกับโปรแกรม Flip
Album 6 Pro ผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งตัวโปรแกรม (install) ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ใช้งานอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือเครื่องพกพาแบบโน๊ตบุ๊ค (Note Book) ก็ได้
ขณะปฏิบัติการงานสร้างนั้น คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายก็ได้
3. การติดตั้งโปรแกรม Flip Album 6
Pro
4. การเข้าสู่โปรแกรม Flip Album 6
Pro การเข้าสู่โปรแกรมมีวิธีการหลัก
2 วิธี คือ
1.) เข้าโดย Dubble Click ที่รูปภาพหนังสือสีแดง บนหน้า Desktop
2.) เข้าโดย Click ที่ปุ่ม Start / Program / E-Book Sytems / FlipAlbum 6 Pro /
FlipAlbum Pro
5. การสร้างสรรค์งานโปรแกรม Flip Album
6 Pro ซึ่งสามารถมีการเพิ่มหน้าหนังสือแบบอัตโนมัติ
1. เตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) Computer Assisted Instruetion
การสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แฮนนิฟิลและเพค (Hannafin and Peck) อ้างถึงใน บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543: 71 -
74) ได้ให้ข้อคำนึงในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีไว้ 12 ประการ ดังนี้
1. สร้างขึ้นตามจุดประสงของการสอนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนได้จากบทเรียนนั้น ได้มีความรู้และทักษะตลอดจนทัศนคติของผู้สอนได้ตั้งไว้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินผลด้วยตนเองว่าบรรลุจุดประสงค์ในแต่ละข้อหรือไม่
2. บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน การสร้างบทเรียนจะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานอยู่ในระดับใด
ไม่ควรที่จะยากหรือง่ายจนเกินไป
3. บทเรียนที่ดีควรปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุดการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรมีประสิทธิภาพมากกว่าเรียนจากหนังสือเพราะสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้
2 ทาง
4. บทเรียนที่ดีควรจะมีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนหัวข้อที่ตนเองมีความสนใจและต้องการที่จะเรียนและสามารถที่จะข้ามบทเรียนที่ตนเองเข้าใจแล้วได้
แต่ถ้าบทเรียนที่ตนเองยังไม่เข้าใจก็สามารถเรียนซ้อมเสริมจากข้อแนะนำของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้
5. บทเรียนที่ดีควรคำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน ควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนอยู่เสมอ
6. บทเรียนที่ดีควรสร้างความรู้สึกในทางบวกของผู้เรียนควรทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน เกิดกำลังใจและควรที่จะหลีกเลี่ยงการลงโทษ
7. ควรจัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงย้อนกลับในทางบวก ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้เรียนชอบและไม่เบื่อหน่าย
8. บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน บทเรียนควรปรับเปลี่ยนให้ง่ายต่อกลุ่มผู้เรียน
เหมาะกับการจัดตารางเวลาเรียน
สถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมควรคำนึงถึงการใส่เสียง
ระดับเสียงหรือดนตรีประกอบควรให้เป็นที่ดึงดูดใจผู้เรียนด้วย
9. บทเรียนที่ดีควรมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่ง่ายตรงเกินไป หรือไร้ความหมาย การเฉลยคำตอบควรให้แจ่มแจ้งไม่คลุมเครือและไม่ควรเกิดความสับสน
10. บทเรียนควรใช้กับคอมพิวเตอร์ที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียน อย่างชาญฉลาด ไม่ควรเสนอบทเรียนในรูปอักษรอย่างเดียว หรือเรื่องราวที่พิมพ์เป็นอักษรโดยตลอดควรใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ เช่น การเสนอด้วยภาพ ภาพเคลื่อนไหว ผสมตัวอักษรหรือให้มีเสียงหรือแสงเน้นที่สำคัญ หรือวลีต่างๆ เพื่อขยายความคิดของผู้เรียนให้กว้างไกลมากขึ้น ผู้ที่สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรตระหนักในสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ตลอด ข้อจำกัดต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ด้วย
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสียบางสิ่งบางอย่างของสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ไป เช่น ภาพเคลื่อนไหวปรากฏช้าเกินไป การแบ่งส่วนย่อยๆ ของโปรแกรมมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้
11. บทเรียนที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของการออกแบบการสอนคล้ายๆ
กับการผลิตสื่อชนิดอื่นๆ การออกแบบทเรียนที่ดี จะสามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนได้มาก การออกแบบ บทเรียนย่อมประกอบด้วยการ ตั้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน การจัดลำดับขั้นต้อนของการสอนการสำรวจทักษะที่จำเป็นต่อผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จึงควรจัดลำดับขั้นตอนการสอนให้ดี มีการวัดผลและการประเมินผลย้อนกลับให้ผู้เรียนได้ทราบ มีแบบฝึกหัดพอเพียงและให้มีการประเมินผลของขั้นสุดท้าย เป็นต้น
12. บทเรียนที่ดีควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม เช่น การประเมินคุณภาพของผู้เรียนประสิทธิภาพของผู้เรียน ความสวยงาม ความตรงประเด็นและความตรงทัศนคติของผู้เรียน เป็นต้น
3.2.1 การใช้โปรแกรม Authorware
Authorware เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่นิยมนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุดเพราะเนื่องจากว่าเข้าใจง่ายมีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ง่าย
ทำความรู้จักกับส่วนต่างๆของโปรแกรม Authorware 4
โปรแกรม Authorware มีส่วนประกอบหลักๆอยู่ 5 ส่วนด้วยกันคือ1. แถบชื่อ จะอยู่บนสุดถ้าเป็นของโปรแกรมจะมีชื่อว่า Authware แต่ถ้าเป็นโปรแกรมที่ท่านตั้งชื่อแล้ว จะปรากฏแถบ Title Bar นี้ด้วย
2. แถบเมนู อยู่รองลงมา จะมีเมนูอยู่บนแถบนี้ 10 เมนูแต่ละตัวจะมีเมนูย่อยเป็นแบบ Pull Down Menu
3. แถบไอคอน จะเป้นรูปไอคอนต่างๆ โดยเอาคำสั่งจากเมนุย่อยของแถบเมนูคำสั่งที่ใช้บ่อยๆมาทำเป็นไอคอนเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน
4. ไอคอนพาแลตต์ เป็นแถบไอคอนเครื่องมือ (Tools) เรียงตามแนวตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของจอ
5. หน้าต่างออกแบบ เป็นหน้าจอว่างๆมีเส้น FLOW LINE 1 เส้นเพื่อเตรียมให้ท่านออกแบบงาน ใช้เมาส์ลากขอบหน้าต่างนี้เข้าออก เป็นการย่อและขยายหน้าต่าง บนแถบหัวของหน้าต่างออกแบบ จะมีชื่อเป็น Untitle-1 ให้ก่อนจนกว่าจะบันทึก (Save) งาน แล้วตั้งชื่อใหม่บนแถบหัวนี้จะเป็นชื่อที่ตั้งไว้
3.2.2 การใช้ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ Moodle
ความสามารถของ moodle
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle
3.3 รูปแบบ Social Network
Social Network นั่นถือว่าแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลและความสัมพันธ์บนโลกอินเตอร์เน็ต เป็นการที่ผู้คนสมารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง นั่นคือโลกที่สาม ยุคที่อะไรก็ไม่อาจจะหยุดยั้งไว้ได้
การใช้ Social Network เพื่อการเรียนการสอน
3.3.1 การใช้เว็บบล็อก (Weblog) เพื่อการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์การใช้เว็บบล็อก (Weblog)
ประโยชน์ของ Weblog
ขั้นตอนการสร้างเว็บบล็อก
เป็นรูปแบบที่การนำเสนอแบบเดียวกับที่ใช้บนอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันนิยมใช้ในรูปแบบนี้มากนำเสนอต่อที่ประชุม เว็บเบราเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้แสดงผล ส่วนโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจหรือแต่ละหน้านั้นมีวิธีทำได้หลายวิธีตั้งแต่วิธีดั้งเดิมที่สุดคือการเขียนด้วยภาษา HTML หรือใช้โปรแกรมประเภท Software tool เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น ข้อดีของการนำเสนอแบบนี้คือสามารถสร้างความเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่างๆของเอกสารที่นำเสนอ ตลอดจนสามารถสร้างการเชื่อมโยงเอสารต่างๆรูปแบบกัน เช่น สามารถคลิกคำว่า วิธีคำนวณ เพื่อเปิดตารางคำนวณ (Excel) ที่แสดงรายการคำนวณและเมื่อคลิกคำว่า คำอธิบาย จะไปเปิดเอกสาร Word เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น